ที่มาของห้องสมุดอาเซียน
1. ที่มา
-
• ในปี 2557 กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอาเซียนได้ริเริ่มดำเนินโครงการ “1 จังหวัด 1 โรงเรียน 1
ห้องสมุดอาเซียน
เพื่อประชาชนและเยาวชนไทย” หรือ โครงการห้องสมุดอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชน ประชาชน
และชุมชนท้องถิ่นในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผ่านการสร้างและส่งมอบห้องสมุดอาเซียนให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ
โดยได้พิจารณาสรรหาโรงเรียน ในระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาที่มีศักยภาพและเหมาะสมในแต่ละจังหวัด
รวมทั้งโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ชายแดนติดกับมิตรประเทศสมาชิกอาเซียน
เพื่อเป็นสถานที่ตั้งของห้องสมุดอาเซียนที่มีพร้อมด้วยหนังสือ สื่อการเรียนการสอน
และบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับอาเซียน
รวมทั้งอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ อาทิ คอมพิวเตอร์และจอภาพสำหรับการเรียนการสอน เป็นต้น
-
• กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้ห้องสมุดอาเซียน
เป็นแรงกระตุ้นให้เยาวชนและชุมชนท้องถิ่นพัฒนาไปสู่สังคมการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
โดยเป็นจุดเริ่มของศูนย์การเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนสำหรับเยาวชนและชุมชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง
ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
ต่อความเป็นไปและพัฒนาการของสังคมและประชาคมโลก รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ และปลูกฝังวัฒนธรรม การเรียนรู้
เพื่อให้เยาวชนและประชาชนก้าวทันโลกแห่งความรู้และนวัตกรรมในอนาคต
-
• ปัจจุบัน กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งมอบห้องสมุดอาเซียนให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ แล้ว จำนวน 58 แห่ง ใน 58 จังหวัด
(ข้อมูลเมื่อเดือน มกราคม 2564)
-
• เพื่อให้นักเรียนและชาวไทยทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและเสริมสร้างองค์ความรู้และ
ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนให้ชุมชน
โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและชาวบ้านในพื้นที่ให้ตระหนักถึงโอกาสและความท้าทายของประชาคมอาเซียน
และสามารถใช้ประโยชน์จากประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มที่
-
• เพื่อให้ห้องสมุดอาเซียนเป็นศูนย์การเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนสำหรับเยาวชน คณาจารย์
และชุมชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงนำไปสู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืนโดยช่วยกระตุ้นความสนใจต่อความเป็นไปและพัฒนาการของสังคมและประชาคมโลก
รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ
เพื่อที่จะก้าวทันโลกแห่งความรู้และนวัตกรรม ในอนาคต และสามารถรับมือกับความท้าทาย
ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลง
และมีความพร้อมสำหรับโอกาส ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในสภาวการณ์โลกยุคปัจจุบัน
-
• เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้เป็น
“ประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคต”
• เยาวชน นักเรียน และนักศึกษา
• คณาจารย์
• ชุมชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง และประชาชนทั่วไป
• หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจศึกษาดูงานห้องสมุดอาเซียน
ห้องสมุดอาเซียน ประกอบด้วย
1) บอร์ดนิทรรศการถาวรแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนพร้อมชั้นวางหนังสือ รวมทั้งชุดโต๊ะและเก้าอี้
2) ชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งชุดซอฟต์แวร์สื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
และทักษะภาษาอังกฤษ
3) โทรทัศน์จอทัชสกรีน (Touch Screen) เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ กล่องรับสัญญาณและ
จานดาวเทียมรองรับรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ภายใต้มูลนิธิการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม
ในพระบรมราชูปถัมภ์
4) หนังสือและสื่อความรู้ที่มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น
ประวัติศาสตร์ของภูมิภาค ความรู้เชิงสังคม วัฒนธรรม ความรู้ทั่วไป และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
5) หนังสือและสื่อความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับประถม–มัธยมศึกษา
-
• เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ยั่งยืนและการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนสำหรับเยาวชน คณาจารย์ ชุมชนในพื้นที่
และพื้นที่ใกล้เคียง
-
• เยาวชนและประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยมีความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน
ในมิติต่าง ๆ มีความพร้อม สามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มที่
-
• เยาวชนและประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ
ของไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและพิจารณานำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสม
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมกันขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน